Emotional Intelligence หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น กำกับ ติดตาม ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง และใช้พลังจากการรู้จักอารมณ์ชี้นำความคิดการกระทำ ตลอดจนแก้ไขความขัดแย้งในตนเองในชีวิตประจำวัน ในการทำงาน และในการมี สัมพันธภาพกับผู้อื่น

 

 

คนปกติจะมีวุฒิภาวะสมกับวัยของตน ถ้าอยู่ในวัยหนึ่งแต่ยังไม่มีความสามารถประจำวัยนั้นถือว่าบุคคลขาดวุฒิภาวะหากยังไม่ถึงวัยนั้น  แต่มีความสามารถประจำวัยนั้นแล้ว บุคคลนั้นก็มีวุฒิภาวะเร็วกว่าปกติ วุฒิภาวะประกอบด้วยวุฒภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา หรืออาจแยกเป็นวุฒิภาวะทางกาย บุคลิกภาพ ความสัมพันธ์ และความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ก็ได้

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเชาวน์อารมณ์
มีผู้ศึกษา EQ รวบรวมได้ใน 3 ลักษณะ คือ ศึกษาองค์ประกอบของ EQ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับ EQ และความสัมพันธ์ของ EQ กับ IQ พอสรุปได้ดังนี้   
1. EQ เป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดู ภาวะแวดล้อม วัฒนธรรม การเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ปรากฎให้เห็นได้ชัดจากบุคลิกภาพของคน ๆ นั้น         
2. EQ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ และสติปัญญาของบุคคล       
3. EQ เป็นผลมาจากการเรียนรู้ภายในตนและภายนอกตน       
4. การปลูกฝังและการพัฒนา EQ ของแต่ละบุคคล เป็นกระบวนการสร้างที่ต้องใช้เวลา อันเป็นผลร่วมของปฏิสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะการซึมซับเข้าสู่ตัวเองกับลักษณะการแสดงออกกับสิ่งแวดล้อมนอกตน

ความสำคัญและประโยชน์ของเชาวน์อารมณ์
ในชีวิตของคนเราล้วนต้องติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ ฉะนั้นการรู้จักและเข้าอกเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าทุกคนมีความพร้อมที่จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ความสุขคงมีอยู่โดยทั่วกัน ปัจจุบันเรื่องของ EQ คือเรื่องที่ต้องการให้ผู้คนได้รู้จักอารมณ์ของตนเองและอารมณ์ของผู้อื่นเป็นอย่างดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจะมีประโยชน์อย่างยิ่งจะนำไปสู่สันติสุข ทุกคนสบายอกสบายใจ นั่นคือถ้าบุคคลสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้จะทำให้เกิด ความคิดอ่านที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีอุปสรรคด้านอารมณ์เข้ามาขัดขวางความคิดอ่านและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสามารถในการรักษาสมดุลด้านอารมณ์ จะทำให้เป็นคนกล้าคิดกล้าทำภายใต้เหตุและผล มีการยืดหยุ่น ประนีประนอม บุคคลสามารถบริหารจัดการในหน้าที่ได้ด้วยการมีสัมพันธ์อันดี

สรุป
ในอดีตผู้คนจะให้ความสำคัญและชื่นชมกับคนเก่ง คนฉลาด หรือคนที่มี IQ สูงต่อมาภายหลังได้ยอมรับกันแล้วว่า IQ แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิตได้ทุกด้าน ในชีวิตจริงคนเราต้องการทักษะในการดำรงชีวิตอีกมากมายที่นอกเหนือไปจากความสามารถต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในเชาวน์ปัญญา เชาวน์ปัญญาตามความเข้าใจเดิมนั้นพัฒนาได้ยาก แต่พหุปัญญาพัฒนาได้ และทักษะทางปัญญาคือการคิดแบบต่าง ๆ ก็สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้เช่นกัน คนฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสามารถจะประสบความสำเร็จในการทำงานที่ยาก และได้รับการยกย่อง แต่จากการศึกษาเรื่องนี้แล้ว จะพบว่าไม่แน่ที่เขาจะมีความสุข นอกเสียจากว่าเขาจะมีความฉลาดทางเชาวน์อารมณ์หรือ EQ ด้วย การพัฒนา EQ ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน สมควรศึกษาและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต    

แบบประเมินวุฒิภาวะทางอารมณ์


อ่านข้อความข้างล่างนี้แต่ละข้อ และให้คะแนนตนเองว่าท่านมีความสามารถที่ระบุไว้ในแต่ละข้ออยู่ในระดับใด จงซื่อสัตย์ต่อตนเองและตอบตามความเป็นจริง แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าทำได้ ลองให้คนสนิทให้คะแนนคุณเพื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่คุณให้ตัวเองก็ได้ โดยระดับคะแนนจะอยู่ในช่วง 1-5 และมีความหมายดังนี้


มีความสามารถน้อยที่สุด 1
มีความสามารถปานกลาง 2
มีความสามารถสูงมาก 3, 4, 5

1.    สามารถแยกแยะต้นเหตุของการเกิดอารมณ์ต่างๆ ของตัวเองได้
2.    ไม่รู้สึกกดดัน แม้อยู่ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียด
3.    สร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ด้วยตนเอง
4.    รู้ว่าพฤติกรรมของท่านมีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร
5.    ริเริ่มวิธีการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ประสบผลสำเร็จ
6.    สงบอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดความโกรธ
7.    รู้ว่าเมื่อไรตนเองกำลังรู้สึกโกรธ
8.    ตั้งสติได้อย่างรวดเร็ว หลังจากพลาดพลั้งไป
9.    สามารถสังเกตเห็นว่าเมื่อใดผู้อื่นกำลังอารมณ์หดหู่
10.    สามารถบรรลุความร่วมมือกับผู้อื่น
11.    สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้อย่างรวดเร็ว
12.    สามารถสำรวจทบทวนตนเองเพื่อเปลี่ยนสภาวะอารมณ์ของตน
13.    สร้างแรงจูงใจให้ตนเองเมื่อต้องทำงานที่ไม่น่าสนใจ
14.    ช่วยเหลือผู้อื่นในการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ของพวกเขา
15.    ทำให้ผู้อื่นรู้สึกดี
16.    รู้ว่าเมื่อไรตนเองกำลังมีอารมณ์แปรปรวน
17.    รักษาความเยือกเย็นไว้ได้เมื่อคุณเป็นเป้าอารมณ์โกรธของผู้อื่น
18.    หยุดและเปลี่ยนกิจวัตรที่ไม่มีประสิทธิผลของตนเอง
19.    แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
20.    ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านอารมณ์และจิตใจแก่ผู้อื่น เมื่อเป็นที่ต้องการ
21.    รู้ว่าเมื่อไรเริ่มรับไม่ได้และต้องการแก้ตัว
22.    รู้ว่าเมื่อไรกำลังคิดในแง่ลบ และสามารถดึงตัวออกจากความคิดนั้นได้
23.    เป็นคนพูดอย่างไรทำอย่างนั้น
24.    สามารถคุยเรื่องส่วนตัวกับผู้อื่นได้
25.    สามารถบอกให้ผู้อื่นทราบถึงอารมณ์ที่เป็นอยู่ของเขาได้อย่างถูกต้อง

การคิดคะแนน

คะแนนวุฒิภาวะทางอารมณ์ของท่านนั้น จะถูกจำแนกออกเป็น 4 หมวด คือ

ก. หมวดการรู้ตัว คือคำถามข้อ 1, 6, 11, 16, 21
คะแนนรวม= 20 คะแนน

ข. หมวดความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ คือ คำถามข้อ 2, 7, 12, 17, 22
คะแนนรวม = 20 คะแนน

ค. หมวดความสามารถในการจูงใจตนเอง คือคำถามข้อ 3, 8, 13, 18, 23
คะแนนรวม = 20 คะแนน

ง. หมวดความเห็นอกเห็นใจ คือคำถามข้อ 4, 9, 14, 19, 24
คะแนนรวม = 20 คะแนน

จ. หมวดทักษะในการสังคม คือคำถามข้อ 5, 10, 15, 20, 25
คะแนนรวม = 20 คะแนน

คะแนนรวมทั้งหมด = 100 คะแนน

การแปลความคะแนนที่ได้
ถ้าได้ 100 คะแนนเต็ม ก็แสดงว่าคุณนั้นมี EI ยอดเยี่ยม,
คะแนน 50-100 แสดงว่ามีพื้นฐานที่ดีทางด้าน EI ซึ่งหากได้รับการพัฒนาแก้ไขในส่วนที่บกพร่องก็จะเป็นผู้นำที่ดี
ถ้าต่ำกว่า 50 แสดงว่ามี EI ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วๆ ไป และอาจจะมีปัญหาในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ส่วนคะแนนในแต่ละหมวดนั้น หากได้คะแนนต่ำกว่า 10 แสดงว่า EI ในหมวดนั้นค่อนข้างต่ำ
ส่วนจะต่ำในเรื่องใดก็ให้ไปเจาะดูคะแนนในแต่ละข้อดู

ทราบคะแนนแล้วหาก EI ออกมาค่อนข้างต่ำก็อย่าเพิ่งกรี๊ด... (เพราะเดี๋ยวใครๆ รู้หมดว่ามี EI ต่ำ) หาทางปรับปรุงตนเองเสีย ไม่มีอะไรเหนือความพยายามไปได้หรอกครับ


Team members

Sample image

Komsant Janthasema

Webmaster
kom2005@gmail.com
Sample image

Napart Nitirayut

Webmaster
napart_k@hotmail.com
Sample image

Kamon Lumbong

Webmaster
dmax6333@hotmail.com
Sample image

Nipa tapui

Webmaster
bansang@windowslive.com

Find Us On Facebook

 

Login Form

 

 
อัตราค่าบริการ
 

ศูนย์รับเรืองร้องเรียน

Sample image

ศูนย์บริหารจัดการ เรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

gishealth

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรสุขภาพ.

ตรวจสอบสิทธิ การรักษา

ตรวจสอบสิทธิภาคประชาชน

ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

ข้อมูลสถิติ สาธารณสุข

Sample image

ระบบ Dashboard หน่วยบริการ