นักวิทยาศาสตร์ที่ติดตามการระบาดของโรคนี้ให้ข้อสังเกต การก่อโรคของเชื้อร้ายชนิดใหม่ มีลักษณะตามธรรมชาติเหมือนกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด "Spainish Flu" ซึ่งเคยระบาดรุนแรง เมื่อ 85 ปีที่แล้วแม้จะเชื่อกันว่า เชื้อนรกพันธุ์ใหม่นี้ ไม่ใช่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ "Spainish Flu" แต่ก็มีพิษสงร้ายแรง และทำให้เกิดโรคติดต่อที่รุนแรงได้พอๆกัน สนใจก็คลิกเข้ามาอ่านต่อเลยครับ

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ผู้หนึ่งขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า แต่ละปีจะมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่ๆ แพร่ระบาดจากภูมิภาคตะวันออกไกล ไปยังยุโรป ในช่วงเดือนธันวาคมและมีนาคมของทุกปี เรียกกันว่า "ฤดูไวรัสไข้หวัดใหญ่"

ไวรัสเหล่านี้อาจมีการผ่าเหล่า หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยีนอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา ต้องรับมือกับเชื้อไวรัสหน้าใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เมื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการผ่าเหล่าไปมากจนระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา ไม่สามารถตอบโต้ได้ มันก็สามารถฆ่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ไม่ยาก

จึงมีนักไวรัสวิทยากลุ่มหนึ่งเชื่อว่า โรคซาร์ส หรือ "ปอดบวมมรณะ" ที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่เมื่อ 85 ปี ผ่าเหล่า กลับมาเล่นงานชาวโลกอีกครั้ง... อย่างไรก็ตาม หลังจากนักวิทยาศาสตร์ควานหาต้นตอของเชื้อร้ายตัวนี้อย่างถึงที่สุด ล่าสุด กระแสใหม่เริ่มมีความมั่นใจกันแล้วว่า "โรคซาร์ส" เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด

ชนิดแรก เป็นไวรัสจัดอยู่ในกลุ่ม "โคโรนาไวรัส"(Corona Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัดธรรมดา และอีกชนิด เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่ม "พาราไมโซไวรัส" (Paramyxo Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัด คางทูม และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ มีรายงานว่า เชื้อไวรัสในกลุ่ม Paramyxo ถูกค้นพบโดยนักวิจัยในฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี และแคนาดา ส่วนไวรัสกลุ่ม Corona ถูกค้นพบโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ของสหรัฐอเมริกา

แม้จะพอจับทางได้ว่า โรคซาร์ส มีที่มาจากเชื้อไวรัส 2 กลุ่ม แต่ก็ยังไม่รู้ชัดว่า ตัวใดตัวหนึ่งเป็นต้นเหตุ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นไปได้ว่า ไวรัสที่พบ คือ เวอร์ชั่น ใหม่ที่ผ่าเหล่ามาจากไวรัสสองกลุ่มเดิม และหันมาจับมือกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดโรค

ในมุมมองของ เดวิด เฮย์แมนน์ ผู้จัดการฝ่ายโรคติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) เขาเห็นว่า ต้นเหตุของการเกิดโรคซาร์ส ยังเป็นประเด็นที่ซับซ้อน

"ไวรัสทั้ง 2 ชนิด อาจจะมาอยู่ด้วยกันโดยบังเอิญก็ได้ โดยชนิดหนึ่งอาจจะมีอยู่ในผู้ป่วยทุกคน แต่ไม่ทำให้เกิดโรค ส่วนอีกชนิด อาจจะเป็นตัวการก่อโรค

เรารู้แต่เพียงว่า ไวรัสโคโรนาอาศัยอยู่ในเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สำคัญ ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่มันเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยก่อน เพื่อเปิดทางให้ไวรัสอีกชนิดเข้าไปซ้ำเติมให้เกิดความเจ็บป่วยร้ายแรง"

เดวิด บอกได้เพียงว่า บัดนี้วงการแพทย์สามารถจำกัดพื้นที่ระบาดของโรคนี้ได้แล้วใน ระดับหนึ่ง ทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่ในภูมิภาคเอเชีย ยังไม่สามารถควบคุมได้

ขบวนการต่อสู้กับเชื้อร้ายตัวนี้ ยังคงต้องใช้เวลาศึกษาต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถตัดสินได้ว่า ไวรัสทั้ง 2 ชนิด มีบทบาทช่วยกันกระหน่ำซ้ำเติม ให้เกิดโรคปอดอักเสบมรณะหรือไม่

นอกจากนี้ ก็มีความคืบหน้าอีกอย่างเดียวที่วงการแพทย์รู้ นั่นคือ ร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่า อายุและโรคประจำตัวบางอย่างของผู้ป่วย เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคนี้ กล่าวคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป น่าจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่สุด และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ หรือโรคหัวใจ ก็มีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสรอดชีวิตได้น้อยกว่า

โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน(เอสเออาร์เอส)ซึ่งคนไทยเรียกว่า โรคซาร์ส หรือไข้หวัดมรณะ ที่กำลังเป็นภัยคุกคามที่สร้างความวิตกให้กับประชาชนอยู่ขณะนี้นั้น องค์การอนามัยโลก ระบุว่าเป็นเชื้อไวรัส ที่อาจมาจากสัตว์ สำหรับอาการไข้หวัดมรณะนั้นคือ

มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศา) มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าได้แก่ ไอ หายใจเร็ว หายใจลำบาก ปอดอักเสบ อาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลียร่วมด้วย นอกจากนี้หากเอกซเรย์หน้าอกจะพบอาการที่บ่งชี้ถึงโรคปอดบวมด้วย มีประวัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าได้แก่ประวัติเดินทางไปในเขตติดโรคหรือประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ระยะฟักตัวของโรคเฉลี่ย 2 ถึง 10 วัน ประมาณวันที่ 5 ของการติดเชื้อ อาการจะเริ่มหลอกให้หลงทาง คือ มองภายนอกเหมือนมีอาการดีขึ้น แต่ภายในกลับมีอาการปอดอักเสบรุนแรง

การติดต่อ จะแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายของผู้ติดเชื้ออาทิ น้ำมูกและน้ำลาย จากการไอหรือจามของผู้ป่วยโดยเชื้อสามารถแพร่อยู่ในอากาศได้ถึง 3 ชั่วโมงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกย้ำว่าการแพร่ระบาดของโรคเอสเออาร์เอสส่วนใหญ่จะเกิดกับเจ้าหน้าที่แพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ติดเชื้อรวมทั้งญาติพี่น้องคนใกล้ชิดของผู้ติดเชื้อองค์การอนามัยโลกย้ำว่าโรคนี้ไม่ได้มีการแพร่ระบาดที่จัดระดับในระดับรุนแรงหากมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม จากข้อมูลในเบื้องต้นปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 1,600 คน และมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวแล้วจำนวน 60 คน

การป้องกัน ไม่ควรเดินทางไปประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดมรณะคือจีน เวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์และไต้หวัน และรักษาร่างกายให้แข็งแรง ถ้าผู้ที่มีอาการ ไข้ขึ้นสูง ไอแห้งๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ หายใจขัดและไม่แน่ใจว่าจะป่วยเป็นไข้หวัดมรณะหรือไม่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรที่จะออกไปยังแหล่งชุมชนเพื่อป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวแพร่กระจายออกไป จนกว่าจะทราบผลการตรวจที่ชัดเจนของแพทย์ว่าไม่ได้เป็นป่วยเป็นโรคไข้หวัดมรณะ "


Team members

Sample image

Komsant Janthasema

Webmaster
kom2005@gmail.com
Sample image

Napart Nitirayut

Webmaster
napart_k@hotmail.com
Sample image

Kamon Lumbong

Webmaster
dmax6333@hotmail.com
Sample image

Nipa tapui

Webmaster
bansang@windowslive.com

Find Us On Facebook

 

Login Form

 

 
อัตราค่าบริการ
 

ศูนย์รับเรืองร้องเรียน

Sample image

ศูนย์บริหารจัดการ เรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

gishealth

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรสุขภาพ.

ตรวจสอบสิทธิ การรักษา

ตรวจสอบสิทธิภาคประชาชน

ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

ข้อมูลสถิติ สาธารณสุข

Sample image

ระบบ Dashboard หน่วยบริการ