เมื่อวันที่ 29 ก.ย. มีรายงานข่าวเปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ได้ข้อสรุปร่วมกันถึงการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่มีวุฒิปริญญาตรีเข้าใหม่ เดือนละ 15,000 บาท
สำหรับแนวทางการปรับฐานเงินเดือนนั้น ทางก.พ.จะเสนอครม.ปรับฐานเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ ตั้งแต่วุฒิ ปวช.ไปจนถึงปริญญาเอก ในช่วง 2 ปี เริ่ม 1 ม.ค. 2555 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คำแนะนำสำหรับประชาชนในการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก คลิกที่นี่
ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม คำขอคืนเงินและเงื่อนไขสาหรับรถยนต์คันแรก คลิกที่นี่
ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนรถยนต์คันแรกภายใน 5 ปี คลิกที่นี่
คำขวัญวันแม่ปี2554
ตามที่มีการออก พ .ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2554 กำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน คือเด็กที่เกิดตั้งแต่ วันที่ 10 กค 2547 ต้องทำบัตรประชาชน ภายใน 60 วัน พออายุ ครบ 15 ปีให้มาทำบัตรใหม่อีกครั้ง
ลูกหลานใคร อายุถึงเกณฑ์ อย่าลืมพากันไปทำบัตรนะครับ เพื่อรับสิทธิต่าง ๆ ตามสวัสดิการสาธารณะของรัฐ
1. แนวทางการปฏิรูปกำลังคนภาครัฐแบบใหม่ พูดง่ายๆที่เรารู้จักกันในชื่อที่เรียกว่าการยกเลิกซีนั้น มีแนวคิดและการดำเนินการกันจริงๆ แต่เขายังไม่สามารถกำหนดวันแล้วเสร็จตายตัวได้เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก แต่กรอบแนวทางที่จะปฏิรูปครั้งนี้คือ ยกเลิกซีแน่นอนครับ โดยกรอบประเภทตำแหน่งที่เอามาแทนซีของข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น เขาจัดตำแหน่งไว้ 6 ประเภทคือ
1.1 ตำแหน่งบริหาร
1.2 ตำแหน่งอำนวยการ
1.3 ตำแหน่งวิชาชีพ
1.4 ตำแหน่งวิชาการ
1.5 ตำแหน่งทักษะพิเศษ
1.6 ตำแหน่งทั่วไป
2. สาระทั้งหมดนี้มีการร่างเป็นกฎหมายขั้นพระราชบัญญัติแล้วนะครับ โดยจะออกมายกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนฉบับเดิม คือ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ครับ
3. ความก้าวหน้าในกระบวนการขณะนี้ ร่างกฎหมายที่ว่าผ่าน คณะกรรมการ ก.พ. และ คณะกรรมการ ก.พ.ร. แล้ว กำลังปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนนิติบัญญัติต่อไป คือไปที่ ค.ร.ม. หลังจากนั้นจะเข้าสู่ รัฐสภา ต่อไป ตรงนี้ล่ะครับที่บอกว่าไม่มีใครทราบได้ เพราะว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่มีใครกำหนดวันเสร็จได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจะบอกว่าออกมาเมื่อไรน่าที่จะตอบยาก เคยมีกรณีตัวอย่างที่แม้ว่า ร่างกฎหมายผ่าน รัฐสภาแล้ว น่าจะชัดเจนว่าจะสามารถออกมาได้เมื่อนั้นเมื่อนี้เช่น กรณีตัวอย่างของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปราชการ ก็ดี หรือ กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฎก็ดี ก็ยังไม่เป็นไปตามที่กำหนดเลยครับ เพราะกระบวนการตรงนี้เป็นเรื่องเทคนิคมากครับ