จากคำกล่าวที่ว่า...มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ แต่ก็มีอุปสรรคอยู่ตรงที่เด็กไทยมักไม่ค่อยทานผัก จึงขอหยิบยกผักไทยๆที่เราบริโภคกันมาตั้งแต่เด็กอย่าง “กะเพรา โหระพา และแมงลัก” มาให้ทดลองปลูกกันยามว่าง ซึ่งทั้งสามชนิดเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ “Labiatae” นอกจากจะมีแร่ธาตุและวิตามินแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคแฝงเร้นไปอีกด้วย        “กะเพรา โหระพา และแมงลัก” ซึ่งเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่มองเพียงผิวเผินๆ ผ่านตาชะแวบๆ อาจแยกแยะไม่ออกทั้ง 3 ต้นมีลักษณะต่างกันเช่นไร จนอาจบ่นออกมาว่า “ไอ้ต้นไม้ต้นนี้มันชื่ออะไรกันแน่ว่ะเนี่ย... “

 

ผักชนิดแรกที่มีชื่อ “กะเพรา” ทางภาคเหนือเรียกกันว่า “กอมก้อ” เป็นพืชที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยดีกับ “ผัดกระเพรา” เมนูอาหารจานเดียวสุดฮิตของคนไทย เนื่องจากส่วนของ “ใบ” มีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวและช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม โดยคนไทยนิยมนำมาเป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร ส่วนของใบมี “น้ำมันหอมระเหย” อยู่ประมาณ 0.35% มีฤทธิ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ และมีสาร Euternol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

“กะเพรา” มีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ กะเพราขาว กะเพราแดง และกะเพราลูกผสมระหว่างแดงกับขาว ลักษณะทางกายภาพของ “กะเพรา” ที่มองเห็นด้วยสายตา คือ มีต้นสูงประมาณ 0.8 - 1.5 เมตร ใบเป็นรูปไข่กลมออกตรงข้ามกัน มีรสเผ็ดร้อนกลิ่นหอมฉุน ใบและกิ่งก้านมีสีเขียว ส่วน ”กะเพราแดง” ใบและกิ่งก้านสีเขียวแกมม่วงแดง ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ออกดอกเป็นช่อ มีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีขาวและสีชมพูอมม่วงมีใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งภายในมีผลย่อย 4 ผล โดยทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

“กะเพรา” เป็นพืชล้มลุกมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกโดยใช้เมล็ดหรือปักชำ เมล็ดใช้เวลางอกประมาณ 15-20 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อปลูกไปได้ประมาณ 30-35 วัน ซึ่งในการปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บใบได้ทุกๆ 15-20 วัน เป็นระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง กิ่งก้านแข็ง แตกยอดน้อย ดังนั้นทางที่ดีควรจะรื้อปลูกใหม่เลยดีกว่า หากใช้ “กิ่งปักชำ” จะมีข้อดี คือ ทำให้ได้ผลผลิตเร็ว แต่มีข้อเสียอยู่ที่ กิ่งและยอดที่แตกออกมาใหม่มักไม่สวยเท่าที่ควร ลำต้นโทรมและตายเร็ว กะเพราสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนซุยและระบายน้ำดี

 

ส่วน“โหระพา” เป็นผักที่ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นหอมเช่นเดียวกับกะเพรา นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองตัวใช้รับประทานแก้บิด และช่วยหล่อลื่นลำไส้

ลักษณะโดยทั่วไปของ “โหระพา” ก็คือ มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ใบมีสีเขียวเป็นรูปหอกและมีกลิ่นหอม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ออกดอกเป็นชั้นคล้ายฉัตร ดอกมีสีขาว ,ม่วงหรือชมพู กลีบเลี้ยงสีเขียวแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีแถบสีม่วงแดงคาดตามยาว ปากบนขนาดใหญ่กว่า ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีใบประดับสีเขียวแกมม่วง ผลขนาดเล็ก มี 4 พู

“โหระพา” ปลูกโดยใช้เมล็ดและปักชำ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นสม่ำเสมอ ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 30-35 วัน โดย ตัดต้นหรือกิ่งห่างจากยอดลงมาประมาณ 10-15 ซม. โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกๆ 15-20 วัน เรื่อยไปจนถึงอายุ 7-8 เดือน

ปัจจุบันทราบว่ามีบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ได้พัฒนาสายพันธุ์โหระพาขึ้นมาใหม่ โดยมีชื่อว่า “พันธุ์โหระพา จัมโบ้” (4320) ซึ่งมีลักษณะใบใหญ่ ใบสีเขียวสดใส มีกลิ่นหอม โตเร็ว ต้นแข็งแรง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และปลูกได้ตลอดปี

มาถึงผักชนิดสุดท้าย ก็คือ “แมงลัก” ทางภาคเหนือเรียกว่า “ก้อมก้อขาว” ส่วนที่จ.เลย เรียกว่า “ผักอีตู่” โดย “แมงลัก” มีความสูงประมาณ 30-80 ซม. ใบเป็นรูปรี ออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนแหลม มีกลิ่นหอม ขอบใบเรียวหรือหยักมนๆ ดอกมีสีขาว ผลเป็นผลชนิดแห้ง รูปรีขนาดเล็ก ขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการเดียวกับกะเพราและโหระพา

เมล็ด “แมงลัก” มีความพิเศษตรงที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตหลายชนิด และสารประกอบอื่น ๆ อาทิ Camphene, myrcene oil, D-Glucose โดยเปลือกผลของแมงลักมี “สารเมือก (mucilage)” ซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ ส่วนใบของ “แมงลัก” มีน้ำมันหอมระเหย จำพวก การบูร, เบอร์นีอัล, ซีนีออล และยูจีนอล

นอกจากนี้ “แมงลัก” ยังอุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาอีก โดยนำใช้เป็นยาระบาย ขับลม ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้รักษากลากน้ำนมที่หน้าเด็ก ที่สำคัญ “แมงลัก” ยังช่วยสาวๆ ที่อยาก “ลดความอ้วน” ใช้เป็นอาหาร โดยอาจรับประทานก่อนอาหารหรือใช้ทดแทนอาหารบางมื้อไปเลย

หวังว่า....วันว่างวันนี้นอกจากท่านจะได้ใช้เวลาปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารแล้วยังสามารถตอบคำถามในใจที่สงสัยกันมานานอย่างชัดเจนว่า “กะเพรา–โหระพา-แมงลัก”ต่างกันอย่างไร


Team members

Sample image

Komsant Janthasema

Webmaster
kom2005@gmail.com
Sample image

Napart Nitirayut

Webmaster
napart_k@hotmail.com
Sample image

Kamon Lumbong

Webmaster
dmax6333@hotmail.com
Sample image

Nipa tapui

Webmaster
bansang@windowslive.com

Find Us On Facebook

 

Login Form

 

 
อัตราค่าบริการ
 

ศูนย์รับเรืองร้องเรียน

Sample image

ศูนย์บริหารจัดการ เรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

gishealth

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรสุขภาพ.

ตรวจสอบสิทธิ การรักษา

ตรวจสอบสิทธิภาคประชาชน

ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

ข้อมูลสถิติ สาธารณสุข

Sample image

ระบบ Dashboard หน่วยบริการ